กานพลู
ประโยชน์ทางอาหารและยา
นักสมุนไพรสมัยใหม่นิยมใช้กานพลูเป็นยาช่วยย่อยอาหาร โดยใช้ผงกานพลู 1 ช้อนชา ทำเป็นชาชง ดื่มวันละ 3 ครั้ง แต่ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ส่วนเด็กโตหรือผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปลดผงกานพลูลงตามส่วน (ตามเหมาะสมละกัน) ซึ่งนอกจากจะช่วยย่อยแล้วกานพลูยังช่วยรักษาอาการแพ้ได้ดี โดยใช้ชงดื่มตามวิธีข้างต้นร่วมกับการรับประทานยาแก้แพ้
ส่วนในตำรายาไทยมีการนำทุกส่วนของกานพลูมาใช้เป็นยา เช่น
- เปลือกต้น ใช้แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ
- ใบ ใช้แก้ปวดมวนท้อง
- ดอกตูม ใช้รับประทานขับลม ใช้แต่งกลิ่น
- ดอกกานพลูแห้ง (ที่ยังไม่ได้สกัดเอาน้ำมันออกซึ่งมีน้ำมันหอมระเหยของดอกกานพลู) มีรสเผ็ด ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และแน่นจุกเสียด แก้อุจจาระพิการแก้โรคเหน็บชา แก้หืด แก้ไอ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย ขับน้ำคาวปลา แก้ลม แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้เสมหะเหนียว ขับผายลม ขับลมในลำไส้ แก้ท้องเสียในเด็ก แก้ปากเหม็น แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้รำมะนาดดับกลิ่นเหล้า แก้ปวดฟัน
ส่วนที่ใช้เป็นยาของกานพลูที่นิยมกันมากคือดอกตูม มีการใช้ทั้งส่วนที่เป็นดอกตูมแห้ง กับ ส่วนที่เป็นน้ำมันที่ได้จากการกลั่นดอกตูมนั้น มีบันทึกการใช้ดอกตูมของกานพลูเป็นยามาตั้งแต่ 207 ปีก่อนคริสต์ศักราช คือในสมัยราชวงศ์ฮั่น จักรพรรดิจีน จะอมดอกกานพลูไว้ในปากเพื่อดับกลิ่นปาก หมอจีนได้มีการนำกานพลูมาใช้เป็นยาอย่างยาวนาน โดยใช้ในการเป็นยาช่วยย่อย แก้ท้องเสีย แก้ไส้เลื่อน แก้กลากเกลื้อน ฮ่องกงฟุต เช่นเดียวกับหมออายุรเวทของอินเดียที่มีการใช้ดอกตูมของกานพลูมาอย่างยาวนานเช่นกัน โดยใช้ในโรคระบบทางเดินหายใจและใช้ในการช่วยย่อย