ต้นกำเนิดพุดดิ้ง
ต้องขอย้อนไปเมื่อสมัย ศตวรรษที่ 15-16 ซึ่งเป็นสมัยที่คนเชื่อว่าโลกกลม ทำให้มีการออกสำรวจดินแดนใหม่สำหรับนักเดินทางยุคต้น ๆ ของศตวรรษ ในสมัยนั้นประเทศสเปนและอังกฤษซึ่งเป็นประเทศผู้นำในการเดินทางสำรวจและยึดครองดินแดนใหม่กันอย่างคับคั่ง ในช่วงนั้นประเทศอังกฤษสามารถเอาชนะและยึดครองดินแดนและชายฝั่งทะเลได้ถึง 7 แห่ง แต่ความราบรื่นนั้นย่อมแฝงไปด้วยความขมขื่นเสมอ
เรือรบของอังกฤษที่เข้าร่วมสงครามครอบครองดินแดนนั้นประสบปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของลูกเรือขึ้น เพราะการออกเดินทางแต่ละครั้งจะต้องใช้เวลาอยู่กับท้องทะเลนานหลายเดือน อาหารที่มีอยู่ก็ร่อยหรอ มิหนำซ้ำบางครั้งอาหารที่ทำ เหลือทิ้งไปเปล่าประโยชน์เพราะใช้ทานในวันต่อไปไม่ได้ก็ตาม จำเป็นต้องทิ้ง ด้วยเหตุนี้เองพ่อครัวหัวใสจึงคิดเมนูที่สามารถทำแล้วถนอมอาหารไว้ทานได้เป็นเวลานาน โดยเค้าใช้ส่วนผสมง่าย ๆ คือ เศษขนมปัง แป้งสาลี และไข่ไก่ ผสมให้เข้ากัน จากนั้นก็ห่อด้วยผ้าสะอาด นำไปอบ เป็นอันเสร็จ ตรงกับ concept ง่าย ๆ กินได้หลายวัน และนั่นเองเป็นเหตุที่มาของตำนาน “พุดดิ้ง” จากข้อมูลนั้นไม่ได้บอกอย่างละเอียดว่าทำไมพุดดิ้งถึงสามารถแพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไปได้ เพราะเจ้าของสูตรต้นตำรับเป็นพ่อครัวบนเรือ แต่จากการสันนิษฐานแล้ว คงจะเป็นเพราะรสชาติที่ถูกปากและทานได้ง่าย ทำให้ลูกเรือติดอกติดใจ และจำสูตรนั้นไปบอกต่อให้กับคุณแม่บ้าน ปากต่อปาก อีกทั้งรสชาติยังเป็นที่นิยม ทำให้พุดดิ้งแพร่หลายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
จากเกียรติศัพท์ของความอร่อยและวิธีทำที่ไม่ซับซ้อนนี้เอง? พุดดิ้งจึงขยายความนิยมไปทางแถบเอเชียของเราและที่ประเทศญี่ปุ่น พุดดิ้ง ได้รับความสนใจในช่วงยุคสมัยเมจิ (พ.ศ.2411 – 2455) ถ้าหากเทียบกับสมัยของประเทศไทยแล้วก็คือ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นั่นเอง
::ทำไมถึงมีชื่อเรียกว่า พุดดิ้ง (Pudding)
ตามรากศัพท์ของภาษาอังกฤษในยุคโบราณ จะเรียกว่า puduc ซึ่งแปลว่า ของที่มีรูปร่าง ลักษณะบวมเป่ง เต่งตึง ซึ่งตรงกับรูปลักษณ์ของเจ้าพุดดิ้ง ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงชื่อเรียก ซึ่งแปลจากภาษาอังกฤษในยุคกลาง คือ podding คำนี้มาจากลักษณะของพุดดิ้ง ที่ไปตรงกับลักษณะของไส้กรอกชนิดหนึ่ง จึงเรียกเป็นคำเดียวกัน และคำปัจจุบันที่ใช้เรียกคือ pudding คำนี้จะใช้เรียกประเภทอาหารที่ทำโดยการอบทุกชนิด
ถัดจากนั้นมาจึงมีการคิดเมนูใหม่ ๆ ของอาหารที่ทำด้วยการอบหลายชนิด แต่ยังคงใช้คำว่า pudding ต่อท้ายในเมนูหลาย ๆ ชนิด ตัวอย่างเช่น rice-pudding, bread and butter-pudding, black-pudding, chocolate-pudding ฯลฯ และพุดดิ้งก็ยังใช้เป็นเมนูหลักไปจนถึงของหวาน อีกด้วย
ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที ผู้คนเค้าก็เรียกว่า pudding กันล่ะคับ แต่ว่าด้วยความผิดแผกของสำเนียง และการส่งต่อทางภาษาเอง ทำให้คำว่า pudding นั้นเปลี่ยนแปลงไปเป็น podding บ้าง และอีกหลาย ๆ คำ แต่ท้ายที่สุดผู้คนเค้าก็ใช้คำว่า “พูริง (puring)” ซึ่งเป็นคำที่เรียกง่าย และตรงความหมายกับหน้าตาของพุดดิ้งที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน ซึ่งเป็นพุดดิ้งชนิดหนึ่งที่เรียกว่า custard-pudding
ส่วนประกอบของพุดดิ้ง
(ในเวปมีสูตรและวิธีการทำสาธิตไว้แล้วนะจ๊ะ ^^”)
ถ้าหากเราจะทำพุดดิ้งให้ตามสูตรของประเทศต้นตำรับคือประเทศอังกฤษแล้วล่ะก็ จะต้องเตรียมส่วนผสมดังนี้คือ แป้งสาลี ข้าว น้ำมันหมู เนื้อ ไข่ไก่ นม เนย ผลไม้ และของที่เราชอบ ใส่ลงไปผสมกัน จากนั้นเติมน้ำตาล เกลือ ตามด้วยเครื่องปรุงรส และแต่งกลิ่นตามชอบใจ เสร็จแล้วนำไปนึ่ง และอบให้พอดีเป็นอันเสร็จพร้อมเสริฟ
สำหรับรูปร่างหน้าตาและรสชาติที่ออกมาจะเป็นอย่างไรนั้น ก็ไม่สามารถรับประกันได้(ไม่เคยลองทำเหมือนกัน) แต่สูตรที่ได้มารับรองว่าเป็นต้นตำรับจากเมืองผู้ดีแน่นอนครับ ถ้าหากใครมีความสนใจ และมีเวลาว่าง สามารถนำสูตรนี้ไปลองทำทานได้ ยิ่งถ้าหากเป็นคุณแม่บ้านด้วยแล้ว เมนูพุดดิ้งของเราอาจจะทำให้คุณพ่อบ้านถูกอกถูกใจ จนทำให้ไม่ออกไปทานอาหารนอกบ้านเลยก็เป็นได้
ขอขอบคุณ สาระแน.คอม
ภาพประกอบโดย google